สุราเป็นพิษ ชีวิตอาจอันตรายได้!

สุราเป็นพิษ ชีวิตอาจอันตรายได้!

การดื่มสุราในปริมาณมากในเวลาอันสั้นนั้นจะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายไม่มีเวลามากพอที่จะขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้หมด ซึ่งภาวะ สุราเป็นพิษ (ALCOHOL POISONING) คือ การดื่มสุราในปริมาณมากจนถึงระดับอันตราย กระทั่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยภาวะดังกล่าวมักจะเกิดจากการดื่มสุราในปริมาณมากๆ ในช่วงเวลาอันสั้น เนื่องจากตับนั้นไม่สามารถจะขับแอลกอฮอล์ออกจากเลือดได้ทัน จนกระทั่งกระทั่งรบกวนระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจถึงขั้นเกิดภาวะช็อกจากแอลกอฮอล์ได้

สุราเป็นพิษ ชีวิตอาจอันตรายได้!

                แล้วมีคำถามมากมายโดยเฉพาะ ดื่มมากแค่ไหนถึงจะมีอการ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเราดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมที่กระเพาะและลำไส้ จากนั้นก็จะถูกดูดซึมไปที่หลอดเลือด โดยภายใน 30-90 นาที ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะขึ้นสูงสุด และแอลกอฮอล์จะกระจายในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ส่วนในการขับแอลกอฮอล์ออก ตับจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่นี้ ซึ่งข้อมูลจากเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ โดย อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เผยว่า ตับสามารถขับแอลกอฮอล์ออกจากเลือดได้เพียง 1 ดื่มมาตรฐาน หรือ Standard Drink ต่อ 1 ชั่วโมงเท่านั้น (เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 10 กรัม และร่างกายสามารถขับออกได้ภายใน 1 ชั่วโมง)

                  ทั้งนี้ 1 ดื่มมาตรฐาน อาจเทียบเท่าเบียร์สดครึ่งไพนต์ (ระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ 3.6%) หรือเทียบกับสุรากลั่น 1 ชอต ปริมาณ 25 มล. (ระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ 40%) ซึ่งเพื่อเป็นการป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

                อย่างไรก็ตาม ความไวหรือปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อแอลกอฮอล์ของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน โดยในเพศชาย จะรู้สึกเมาก็เมื่อดื่มมากกว่า 5 ดื่มมาตรฐาน ส่วนเพศหญิง จะเริ่มเมาก็ต่อเมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 4 มาตรฐาน แต่หากดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 12 มาตรฐาน ในระยะเวลาอันสั้น จะมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดภาวะสุราเป็นพิษ เนื่องจากตับไม่สามารถกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายได้ทันนั่นเอง ส่วนอาการของภาวะสุราเป็นพิษ ได้แก่ เกิดอาการจิตสับสน, พูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างหนัก, การทำงานประสานกันของอวัยวะบกพร่อง, อาเจียน, จังหวะการหายใจผิดปกติหรือหายใจช้าลง, ตัวเย็นผิดปกติจนทำให้ผิวหนังซีดหรือกลายเป็นสีม่วง, หมดสติ ไม่รู้สึกตัว, เกิดภาวะกึ่งโคม่า ซึ่งยังรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองการรับรู้ได้ และในกรณีที่ภาวะสุราเป็นพิษรุนแรงอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโคม่า สมองถูกทำลาย และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

                การช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล

หากพบว่ามีผู้ที่กำลังเกิดภาวะสุราเป็นพิษ ให้รีบโทร 191 หรือ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ ในช่วงที่กำลังรอรถพยาบาล แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  • พยายามปลุกผู้ป่วยให้ตื่นและพยายามพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
  • ให้ดื่มน้ำเปล่าหากผู้ป่วยยังสามารถดื่มได้
  • หากผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ ให้จัดผู้ป่วยในท่านอนตะแคงหรือท่าพักฟื้น และคอยตรวจดูว่าผู้ป่วยยังคงหายใจอยู่
  • พยายามทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น
  • อยู่กับผู้ป่วยและคอยสังเกตอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาล

ไม่แนะนำให้ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนหลับ นั่นเพราะระดับของแอลกอฮอล์จะยังคงมีอยู่ในเลือดสูงประมาณ 30-40 นาทีหลังจากการดื่มครั้งสุดท้าย ส่งผลให้อาการของภาวะสุราเป็นพิษอาจเลวร้ายและรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ ฃไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่ควรนำผู้ป่วยไปอาบน้ำ ซึ่งไม่เพียงแต่จะไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่จะยิ่งทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงและเป็นอันตรายมากขึ้นอีก

การรักษาภาวะสุราเป็นพิษ

เมื่อถึงมือแพทย์ แพทย์จะคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะมั่นใจแล้วว่าแอลกอฮอล์ถูกขับออกจากร่างกายจนหมดแล้ว และหากแพทย์จำเป็นต้องทำการรักษา อาจมีกระบวนการรักษาต่อไปนี้

  • ใช้วิธีการสอดท่อขนาดเล็กลงไปทางปากและหลอดลม เป็นการใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจ กำจัดสิ่งอุดตันต่างๆ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น
  • ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด เป็นการเติมน้ำ น้ำตาล และวิตามิน เข้าสู่ร่างกายและเพื่อให้น้ำ น้ำตาล และวิตามินอยู่ในระดับปกติ
  • ใช้วิธีการสอดท่อขนาดเล็กมากทางท่อปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากร่างกาย 
สุราเป็นพิษ ชีวิตอาจอันตรายได้!

อันตรายของภาวะสุราเป็นพิษ

ผู้ที่มีภาวะสุราเป็นพิษจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • สำลักในขณะอาเจียน
  • หยุดหายใจ
  • เกิดภาวะหัวใจวาย
  • หายใจสูดอาเจียนเข้าไปในปอดจนอาจเป็นอันตรายต่อปอดอย่างรุนแรงได้
  • เกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อสมองทำให้สมองเสียหายอย่างถาวร
  • ตัวเย็นมากผิดปกติ
  • มีอาการชัก อันเป็นผลมาจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ

นอกจากนี้ การอาเจียนมากๆ หรือขย้อนถี่ๆ อาจส่งผลทำให้อาเจียนเป็นเลือดซึ่งเกิดจากการตกเลือดในระบบทางเดินอาหารบริเวณระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร

สุราเป็นพิษ ชีวิตอาจอันตรายได้!

การจำกัดปริมาณการดื่มสุราที่แนะนำ

เพื่อให้อัตราเสี่ยงจากการดื่มสุราที่ส่งผลต่อสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ แพทย์แนะนำว่า ทั้งหญิงหรือชาย ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ หากดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ แนะนำว่าไม่ควรดื่มหนักในคราวเดียวแต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน
                สำหรับสุรา 1 ดื่มมาตรฐาน สามารถเปรียบเทียบเปรียบเทียบปริมาณได้ดังนี้

  • เทียบเท่าเบียร์สดครึ่งไพนต์ ที่มีระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 3.6%
  • เทียบเท่าสุรากลั่น 1 ช็อตปริมาณ 25 มล. ที่มีระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40%

ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแบบ binge drinking หรือการดื่มปริมาณมากเป็นครั้งคราวหรือการดื่มมากติดต่อกันในช่วงเวลาสั้นๆ แบบ “เมาหัวราน้ำ” นั่นเพราะการดื่มในลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะ สุราเป็นพิษ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากรักตัวเอง รักคนรอบข้างก็อย่าดื่มมากจนเกินไปนะ

TCDC Bangkok แหล่งรวบรวมความ ART ที่ครบทุกวงจร Thailand Creative and Design Center หรือ TCDC ถือเป็น Landmark แห่งใหม่ในย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ แห่งใหม่นี้ มีเนื้อที่ครอบคลุมทั้งหมด 5 ชั้น รวมเกือบ  9,000 ตารางเมตร

อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : เปรียบเทียบความต่าง Galaxy S20, S20+, S20 ultra